ในแบบ ภ.พ.30 จะเป็นแบบแสดงภาษีซื้อและภาษีขาย บริษัทจะต้องยื่นแบบนี้ต่อกรมสรรพากรทุกเดือน การกรอกแบบนั้นไม่ยาก เพียงแค่นำยอดขาย และยอดซื้อในแต่ละเดือน และคำนวณภาษีขาย และภาษีซื้อมาแสดง ผลต่างก็คือตัวภาษีที่ต้องชำระ ในที่นี้จะขออธิบายเรื่องยอดขายที่จะนำมากรอกในแบบ ภ.พ.30

ยอดขายในเดือนนี้ (ช่องที่ 1)
ยอดขาย VAT 0 + ยอดขาย ยกเว้น VAT (Non VAT) + ยอดขายที่ต้องเสียภาษี (VAT 7)
ยอดขายที่เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 (ช่องที่ 2)
กิจการที่จะมียอดขายที่เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 นั่นคือกิจการส่งออกโดยผ่านศุลกากร ดูเพิ่มเติมมาตรา 80/1
ยอดขายที่ได้รับยกเว้น (ช่องที่ 3)
กิจการที่ขาย/ให้บริการบางประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ขายสินค้าทางการเกษตร ขายสัตว์สิ่งมีชีวิต ขายอสังหาริมทรัพย์ ส่วนการให้บริการเช่น รายได้ค่าเช่า รายได้ค่าขนส่ง ค่าสอบบัญชี ดูเพิ่มเติมมาตรา 81
ยอดขายที่ต้องเสียภาษี (ช่องที่ 4)
โดยปกติยอดขายและให้บริการส่วนมากต้องเสียภาษีอยู่แล้ว หากไม่ได้รับยกเว้นในช่องที่ 2 หรือ 3 ยอดขายและให้บริการนั้นจะต้องนำมาเสียภาษีทั้งหมด อันนี้ไม่มีสิทธิเลือก
ตัวอย่าง
Ex. บริษัท ประกอบกิจการส่งออกสินค้า และมีรายได้ค่าเช่าจากการให้เช่าพื้นที่หน้าร้าน ดังนั้น เวลากรอกแบบภพ.30 รายได้จากการส่งออกสินค้ากรอกในช่องที่ 2 และรายได้ค่าเช่ากรอกในช่องที่ 3
ในเดือนมีรายได้ส่งออก 785,000 บาท รายได้ค่าเช่า 15,000 บาท

Ex. บริษัท ประกอบกิจการให้บริการทางบัญชี และการสอบบัญชี มีรายได้ค่าทำบัญชี รายได้ค่าจดทะเบียน และรายได้สอบบัญชี ดังนั้น เวลากรอกแบบภพ.30 รายได้ค่าสอบบัญชีกรอกในช่องที่ 3 และรายได้ค่าทำบัญชี และรายได้ค่าจดทะเบียน ในช่องที่ 4
ในเดือนมีรายได้จากการให้บริการรวม 1,200,000 บาท แบ่งเป็นรายได้ค่าสอบบัญชี 500,000 บาท และรายได้ค่าทำบัญชีและจดทะเบียน 700,000 บาท

รายได้ที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม Out of Vat Scope

หากมีรายได้ที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ต้องนำมากรอกในแบบภ.พ.30 เช่น รายได้ค่าส่งเสริมการขาย เงินอุดหนุนช่วยเหลือ เงินให้เปล่า รายได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ
Ex. กิจการ Convenience Store ซื้อสินค้าจาก supplier มาขายปลีกให้ลูกค้า รายได้ค่าส่งเสริมกายขาย เป็นรายได้ที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษี ไม่ต้องกรอกในแบบ ภ.พ.30
ในกรณีกิจการรับฝากขายสินค้า มีสัญญาการตั้งตัวตัวแทนผู้รับฝากสินค้า consignee ได้รับรายได้ค่าตอบแทนจากบริการรับฝากขาย หากมีรายได้ค่าส่งเสริมการขายที่ตกลงกับ Supplier เพิ่มเติม รายได้ดังกล่าวจะถือว่าเป็นรายได้ค่าตอบแทน อยู่ในบังคับถือว่าเป็นรายได้เสียภาษี
สรุป
การขายและให้บริการโดยทั่วไป ทางกิจการต้องนำยอดขายในเดือนมาบันทึกลงในช่องที่ 1 หากไม่ได้เป็นกิจการส่งออก หรือสินค้า/บริการได้รับการยกเว้น ก็ไม่ต้องระบุในช่อง 2 และ 3 ดังนั้นยอดขายที่ต้องเสียภาษีในช่องที่ 4 ก็คือ ยอดขายในเดือนทั้งจำนวน