รวมคำถามที่พบบ่อยจดทะเบียนเลิก

หากกิจการไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ และก็มาถึงจุดที่จะต้องสิ้นสุด นั่นก็คือการเลิกกิจการ บทความนี้จะรวมคำถามที่พบบ่อยสำหรับการจดทะเบียนเลิกบริษัท

Question : ก่อนจดทะเบียนเลิกบริษัท บัญชีไหนที่ควรเคลียร์ก่อน ?

ก่อนที่เราจะดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัท ยอดคงเหลือทางบัญชีที่จะต้องตรวจสอบก่อนว่าการมียอดคงเหลือหรือเปล่า หากยังมียอดคงเหลืออยู่ จะทำให้กิจการต้องเสียเพิ่ม บัญชีที่พบบ่อยๆ ได้แก่

บัญชีสินค้าคงเหลือ วัตถุดิบคงเหลือ งานระหว่างทำ ณ วันเลิกกิจการ หากมีสินค้าคงเหลือและบัญชีประเภทนี้อยู่ จะถือว่าขาย ณ วันเลิกบริษัท ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยประเมินมูลค่าสินค้าตามราคาตลาด

บัญชีสินทรัพย์ถาวร ณ วันเลิกกิจการ เช่นเดียวกับสินค้าคงเหลือ หากมีสินทรัพย์ถาวรอยู่ จะถือว่าขาย ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยประเมินมูลค่าสินทรัพย์ถาวรตามราคาตลาดเช่นกัน

บัญชีกำไรสะสม โดยปกติบริษัทจะทำการปันผลให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) และเวลาจ่ายบริษัทจะหักภาษี ณ ที่จ่าย อัตรา 10% ซึ่งในแง่ของผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินปันผลมีสิทธิเลือกว่าจะนำเงินปันผลมารวมกับเงินได้อื่น เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่าลืมนำเครดิตเงินปันผลมารวมเป็นเงินได้ด้วย หรือเลือกไม่รวม เงินปันผลที่ได้รับ และ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ไปแล้วนั้น ถือว่าจบ

แต่หาก หลังที่บริษัทจดทะเบียนเลิก แล้วมีบัญชีกำไรสะสมค้างอยู่ กำไรที่แบ่งให้กับผู้ถือหุ้นจะถือว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4) (ฉ) ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตราก้าวหน้า และต้องนำไปรวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี หากเป็นบุคคลต่างประเทศที่ไม่ได้อยู่ประเทศไทย จะต้องหักร้อยละ 15 ตามมาตรา 50(2) (ก)

Question : การจดทะเบียนเลิกต้องปิดบัญชีกี่รอบและทำงบการเงินกี่ฉบับ ?

ปิดบัญชี ณ วันเลิกกิจการ และจัดทำงบการเงิน 1 ฉบับ

Ex. สมมติว่าที่ประชุมมีมติให้เลิกบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม และบริษัทได้ไปยื่นจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาและนายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกวันที่ 13 มกราคม

คำถามก็คือ วันเลิกกิจการคือวันไหน  ระหว่าง.วันที่ประชุมมีมติให้เลิกบริษัท กับ วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก

บริษัทจะใช้วันที่ประชุมมีมติให้เลิกก็ได้ หรือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกก็ได้ เพียงแต่อย่าลืมระบุในงบการเงินด้วยว่าเป็นวันที่มีมติให้เลิก หรือวันที่นายทะเบียนรับจดเลิก

จากเคสข้างต้น บริษัทสามารถจัดทำงบการเงิน ณ วันที่ประชุมมีมติให้เลิกบริษัท วันที่ 31 ธันวาคม ได้ จะได้ปิดบัญชีและจัดทำงบการเงิน 1 ฉบับ

สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องแจ้งเลิกกับกรมสรรพากรภายใน 15 วัน โดยกรมสรรพากรยึดตามวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก

Question : เดิมกรรมการบริษัทมีหลายคน เวลาจดเลิกบริษัท ต้องใช้กรรมการบริษัทชุดเดิมหรือไม่ หากกรรมการบางคนไม่สามารถเซ็นเอกสารได้จะทำอย่างไร ?

Ex. กรรมการบริษัทเดิม มี 4 คน อำนาจลงนามเอกสารร่วมกัน 2 คน หากเลิกจะต้องแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีตามกรรมการชุดเดิมหรือไม่

การเลิกบริษัทโดยที่ประชุมมีมติพิเศษให้เลิก ที่ประชุมสามารถแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่ได้ ซึ่งหากกรรมการคนเดิมไม่สะดวก ไม่สามารถดำเนินการได้ ที่ประชุมแต่งตั้งคนที่สะดวกขึ้นมาเป็นผู้ชำระบัญชีได้ เวลาจดทะเบียนเลิกให้แนบรายงานการประชุมนี้ต่อนายทะเบียน

ดังนั้นหากกรรมการบริษัทเดิม 4 คน ไม่สะดวก ก็สามารถแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี 1 คน อำนาจลงนาม 1 คน เป็นผู้ดำเนินการให้การชำระบัญชีเสร็จสิ้นไปได้

Question : ไม่อยากใช้ที่อยู่สำนักงานบริษัทเดิม เปลี่ยนที่อยู่ใหม่ได้มั้ย ?

ในการจดทะเบียนเลิก จะต้องระบุสำนักงานผู้ชำระบัญชี ระบุเลขรหัสประจำบ้าน ที่อยู่ และรายละเอียดติดต่อ ซึ่งหากต้องการไม่อยากใช้ที่อยู่เดิม สามารถเปลี่ยนสำนักงานชำระบัญชีเป็นที่อยู่ใหม่ โดยในการจดทะเบียนก็ต้องแนบแผนที่ของสำนักงานผู้ชำระบัญชีเพิ่มเติมไปด้วย

Question :Timeline สำหรับการจดทะเบียนเลิกบริษัทและเสร็จการบัญชีต้องทำอะไรบ้าง ?

โปรแกรมการจดทะเบียนเลิกบริษัท จะตั้งค่าโดยอัตโนมัติโดยวันนัดประชุมลงโฆษณา จะห่างจากวันประชุมเลิกบริษัทไม่น้อยกว่า 14 วัน

ลิงค์ การยื่นเลิกบริษัท

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น