ความสำเร็จของกิจการส่วนหนึ่งนั้น คือการร่วมมือร่วมแรงกันของพนักงาน ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบแทน กิจการก็อาจจะมอบสวัสดิการที่ดีให้แก่พนักงานนั่นเอง สวัสดิการประเภทต่าง ๆ มีอยู่หลากหลาย เพื่อความสะดวกต่อการคำนวณเงินได้พึงประเมิน ในการยื่นแบบภาษี และการบันทึกบัญชี อาจแบ่งสวัสดิการตามประเภทรายได้และรายการหักที่มีผลกระทบต่อเงินได้พึงประเมิน ดังนี้
1.ผลประโยชน์ที่เงินได้พึงประเมิน
2.รายการหักก่อนเงินได้ กระทบเงินได้พึงประเมิน
3.รายการหัก ไม่กระทบเงินได้พึงประเมิน
4.รายการเพิ่ม ไม่กระทบเงินได้พึงประเมิน
ผลประโยชน์ที่เงินได้พึงประเมิน

รายได้ที่พนักงานได้รับ ให้พิจารณาว่าเป็นผลประโยชน์เพิ่มหรือไม่ ถ้าเป็นผลประโยชน์เพิ่มโดยปกติจะถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงาน
เงินค่าจ้างตอบแทนการทำงานปกติ เช่น เงินเดือน ค่าครองชีพ ค่าวิชาชีพ เงินตำแหน่ง ค่าใบอนุญาต เบี้ยเลียงรายเดือน
เงินจูงใจเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น โบนัส ค่าล่วงเวลา เบี้ยขยัน เงินรางวัลการขาย ค่านายหน้า
เงินสวัสดิการอื่น ๆ เช่น ค่าเดินทางที่พักแบบเหมาจ่าย ค่าน้ำมันแบบเหมาจ่าย ค่าเสื่อมสภาพรถแบบเหมาจ่าย เงินทุนการศึกษาแก่บุตรพนักงาน
นอกจากนี้มีสวัสดิการที่ไม่ได้เป็นตัวเงิน เช่น ทำประกันชีวิตให้ อาหารและเครื่องดื่ม ที่พักนายจ้างให้อยู่ฟรี พาไปเที่ยวตปท. ของขวัญปีใหม่ รางวัล ซึ่งหากมีสวัสดิการดังกล่าวให้แก่พนักงานจะต้องประเมินมูลค่าและรวมเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงานแต่ละคนด้วย
นอกจากนี้เพื่อนำส่งเงินสมทบประกันสังคม จะต้องพิจารณาเงินได้รายการใดที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานปกติ ให้ถือว่าเป็นค่าจ้างนำมาคำนวณเงินสมทบ ดูลักษณะดังนี้
1.เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง
2.จ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันเวลาปกติ
3.การจ่ายไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่ลูกจ้างจะนำไปใช้และไม่มีเงื่อนไขในการจ่าย
4.ต้องไม่ใช่เงินรางวัลหรือสวัสดิการหรือเงินจูงใจ
รายการหัก ก่อนเงินได้ และรายการหักไม่กระทบเงินได้พึงประเมิน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.รายการหักก่อนเงินได้ กระทบเงินได้พึงประเมิน เช่น ลาไม่รับเงินเดือน ลาเกินกำหนด มาสาย*
หมายเหตุ หากมีสัญญาจ้าง ตกลงจ่ายค่าแรงเป็นรายเดือน กรณีมาสาย บริษัทไม่สามารถลงโทษพนักงานที่มาทำงานสายโดยการหักเงินเดือนได้ (ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 76) แต่สามารถหักได้เมื่อมีการตกลงกับลูกจ้างว่าจะจ่ายค่าจ้างตามระยะเวลาที่ทำงานจริง
2.รายการหัก ไม่กระทบเงินได้พึงประเมิน เช่น ภาษีเงินได้ ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินชดใช้ค่าเสียหาย หรือพนักงานจ่ายคืนเงินกู้

เงินที่พนักงานได้รับเพิ่ม โดยไม่ถือเป็นเงินได้

เงินที่พนักงานได้รับบางรายการไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงาน เนื่องจากไม่ถือเป็นประโยชน์เพิ่ม ตัวอย่างเช่น
เงินเพิ่มไม่ถือเป็นเงินได้ ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง(ไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด) ค่าที่พักเดินทางไปต่างจังหวัด(ตามจริง) ค่าใช้จ่ายเดินทางไปต่างจังหวัด(ตามจริง) ค่าน้ำมันรถ(ตามจริง) ค่ารถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในกิจการ ค่ารักษาพยาบาล ค่าอบรมสัมมนา ค่าเครื่องแบบพนักงาน(ไม่เกิน 2 ชุด เสื้อนอกไม่เกิน 1 ชุด) เงินทุนการศึกษาพนักงาน(ใช้ทุนภายหลัง) เงินช่วยค่าแต่งงาน งานบวช งานศพ
สวัสดิการที่ไม่เป็นตัวเงินให้พนักงานได้ ไม่ถือเป็นเงินได้ เช่น เครื่องแบบพนักงาน(ไม่เกิน 2 ชุด เสื้อนอกไม่เกิน 1 ชุด) ทำประกันวินาศภัยหมู่ จัดสัมมนาต่างจังหวัด จัดหาที่พักให้แก่พนักงานที่ทำงานดึก รถประจำตำแหน่ง ดูงานต่างประเทศ(มีหลักฐานตามจริง) ของขวัญวันเกิด
รายจ่ายสวัสดิการพนักงาน สามารถบันทึกเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ ?
เมื่อกิจการได้ให้สวัสดิการพนักงาน สิ่งที่ควรคำนึงคือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ สิ่งที่นักบัญชีควรแจ้งกลับไปยังเจ้าของกิจการคือรายจ่ายใดบ้างที่อาจเป็นประเด็น อาจจะโดนประเมินว่าเป็นรายจ่ายต้องห้าม โดยพิจารณาได้ตามลักษณะคือเป็นรายจ่ายที่ไม่มีระเบียบ ให้เท่าไหร่ไม่มีข้อกำหนด เลือกให้เฉพาะคน เช่น กรรมการ/พนักงานบางคน หรือเป็นรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ จ่ายแล้วไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับกิจการ ซึ่งหากกิจการจัดทำระเบียบ ประกาศ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงานว่ามีข้อกำหนดอย่างไร เพื่อประกาศใช้กับพนักงานทุกคน และรายจ่ายสวัสดิการนั้นเกี่ยวข้องกับกิจการ รายจ่ายนั้นจะบันทึกเป็นรายจ่ายของกิจการได้ไม่ต้องห้าม
แต่ก็มีสวัสดิการที่มีเป็นลักษณะเป็นรายจ่ายส่วนตัว แม้มีระเบียบแต่ก็อาจจะถูกตีความว่าเป็นรายจ่ายต้องห้าม เช่น ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ส่วนตัว ค่าซ่อมรถยนต์ส่วนตัว ค่าโทรศัพท์ส่วนตัว ค่าสมาชิกสปอร์ตคลับ เนื่องจากเป็นการยากที่จะแบ่งแยกว่าใช้ประโยขน์กับกิจการเท่านั้น ไม่ได้ใช้ประโยชน์ส่วนตัว

โปรแกรมเงินเดือน
โปรแกรมออกแบบมาให้ใช้งานง่ายด้วยไฟล์ excel และสามารถจัดทำเอกสารที่เกี่ยวกับบัญชีเงินเดือนและสวัสดิการพนักงานที่จำเป็น ดังนี้
สลิปเงินเดือน
หนังสือรับรอง50 ทวิ
แบบยื่นภาษี ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก
แบบยื่นประกันสังคม
โดยรองรับประเภทเงินได้และรายการหัก ดังนี้
- ระบุประเภทเงินได้ กระทบเงินได้พึงประเมิน เช่น เงินเดือน ค่าล่วงเวลา ค่าเบี้ยเลี้ยง/ค่าครองชีพ โบนัส สูงสุด 12 ประเภท
- ระบุประเภทรายการหักก่อนเงินได้ กระทบเงินได้พึงประเมิน สูงสุด 4 ประเภท
- ระบุประเภทเงินหัก ไม่กระทบเงินได้พึงประเมิน เช่น ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย ประกันสังคม เงินกู้ สูงสุด 12 ประเภท
- ระบุประเภทเงินเพิ่ม ไม่กระทบเงินได้พึงประเมิน สูงสุด 4 ประเภท
- นอกจากนี้ยังระบุเงินได้ที่ใช้คำนวณเงินสมทบของประกันสังคมด้วย
สนใจผลิตภัณฑ์ คลิกเลย https://excel1click.com/product/%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%9f%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99/
เป็นเว็บไซด์ที่ช่วยเหลือ จัดทำและจัดการข้อมูลบัญชีต่างๆที่สำคัญของเราได้ง่าย ดีมากครับที่มีเว็บไซด์ดีแบบนี้
ขอบคุณมากค่ะ